หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ) (ปีการศึกษา 2561 ลงมา)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Computational Science

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Computational Science)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

1 ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ เข้าใจทฤษฎี หลักการ และมีทักษะในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ และ/หรือ คณิตศาสตร์
2 ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และทักษะการคำนวณเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยได้
3 ผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการวิจัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ รวมทั้งสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกได้
4 ผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณของนักวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5 ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ผู้ฟังในทุกระดับได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

 

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1 บัณฑิตที่มีความรู้อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ เข้าใจทฤษฎี หลักการ และมีทักษะในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ และ/หรือ คณิตศาสตร์
2 บัณฑิตที่สามารถประยุกต์ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และทักษะการคำนวณเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยได้
3 บัณฑิตที่เป็นผู้ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการวิจัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ รวมทั้งสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกได้
4 บัณฑิตที่มีจรรยาบรรณของนักวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5 บัณฑิตที่มีความสามารถในการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ผู้ฟังในทุกระดับได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

 

แนวทางประกอบอาชีพ

1 นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองพิสูจน์หลักฐาน เป็นต้น
2 ครูวิทยาศาสตร์ ทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน
3 ผู้ประกอบการและอาชีพอิสระ เจ้าหน้าที่ทางการเงิน

 

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 13,200.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 158,400.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 187 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
(1) กลุ่มภาษา 25 หน่วยกิต
(2) กลุ่มสังคมศาสตร์ 9 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
(4) กลุ่มมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 139 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
38 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ
24 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ แยกตามวิชาเอก ดังนี้
    4.1 วิชาเอกคณิตศาสตร์ 53 หน่วยกิต
    4.2 วิชาเอกเคมี 54 หน่วยกิต
    4.3 วิชาเอกชีววิทยา 60 หน่วยกิต
    4.4 วิชาเอกฟิสิกส์ 52 หน่วยกิต
5) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก แยกตามวิชาเอก ดังนี้
    5.1 วิชาเอกคณิตศาสตร์ 15 หน่วยกิต
    5.2 วิชาเอกเคมี 14 หน่วยกิต
    5.3 วิชาเอกชีววิทยา 8 หน่วยกิต
    5.4 วิชาเอกฟิสิกส์ 16 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต

 

เลือกเรียนใน  4  วิชาเอก  ได้แก่

1.  คณิตศาสตร์เชิงคำนวณ  มุ่งเน้นการเรียนรู้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข  เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์  การหาปริพันธ์ และปัญหาการหาค่าสุดขีด  และประยุกต์ในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

2.  ฟิสิกส์เชิงคำนวณ  มุ่งเน้นให้นำความรู้ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ไปใช้ในการทดลองหรือการสร้างแบบจำลองทางฟิสิกส์  เพื่อศึกษาอธิบาย  และทำนายการเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านวัสดุแม่เหล็ก  วัสดุประกอบคลื่นกล  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และพลาสมา

 

3. เคมีเชิงคำนวณ มุ่งเน้นให้ใช้ความรู้ทางเคมี  ทักษะการทดลองและการจำลองโมเลกุลด้วยคอมพิวเตอร์  เพื่อศึกษาโครงสร้างอันตรกิริยา  และปฏิกิริยาเคมีในระดับโมเลกุล  สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสสาร  และการออกแบบยา  เพื่อการประยุกต์ในการออกแบบโมเลกุลที่มีประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

 

4.  ชีววิทยาเชิงคำนวณ มุ่งเน้นให้ใช้ความรู้ทางชีววิทยา  คณิตศาสตร์และทักษะการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาระบบของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลจำนวนมาก เช่น ข้อมูลพันธุกรรมในยุคหลังจีโนม  วิวัฒนาการของยีนหรือสิ่งมีชีวิตจากข้อมูลทางพันธุกรรม  รวมถึงนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต