หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)(ปีการศึกษา 2561 ลงมา)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Degree Program in Marine and Coastal Resources Management Technology

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor (Technology for Marine and Coastal Resources Management)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง และมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี
2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมทางวิชาการสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยี
4) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม
5) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

 

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง (นิเวศวิทยาทางทะเล การจัดการทรัพยากรประมง สมุทรศาสตร์เคมี ธรณีสัณฐาน) รวมทั้งบัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้จริงโดยผ่านกระบวนการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีจิตสาธารณะ และสามารถทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

แนวทางประกอบอาชีพ

1) นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล/นักชีววิทยา/นักนิเวศวิทยาทางทะเล
2) นักวิชาการประมงปฏิบัติการ/เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติการ
3) นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
4) นักวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
5) นักภูมิสารสนเทศ
6) นักวิทยาศาสตร์ (ห้องปฏิบัติการ)
7) นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย
8) นักวิชาการ ครู อาจารย์
9) นักวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
10) บุคลากรเจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11) นักวิชาชีพอื่นๆ ในสถานประกอบการที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากร

 

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 16,200.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 194,400.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 184 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
(1) กลุ่มภาษาและการสื่อสาร 20 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 12 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาสุขพลานามัย 4 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 4 หน่วยกิต
(5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ 4* หน่วยกิต
หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
2. หมวดวิชาเฉพาะ 136 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาแกน 52 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ 63 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาเอกเลือก 12 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต