ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ: Master Program in Science (International Program)

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์)
ชื่อย่อ : วท.ม. (วิทยาศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Master of Science (Science)
ชื่อย่อ : M.Sc. (Science)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ตำแหน่งทางวิชาการชื่อ-สกุลความเชี่ยวชาญ
1. รองศาสตราจารย์นางมัลลิกา เจริญสุธาสินีAnimal Behavior, Dengue Prediction, Coral Reef Ecology,Terrestrial Ecology, Smart Agricutlure
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวจริยา สากยโรจน์Marine Mycology, Molecular Fungal Systematics
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวพิชญาภัค  วินทะชัยMolecular Virology, Antimicrobial Drug Discovery,Bacteriophage
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวพิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์Embryonic Stem Cell Differentiation
6. รองศาสตราจารย์นายเสน่ห์ รุจิวรรณMathematical Finance. Stochastic Modeling,Parameter Estimation
7. รองศาสตราจารย์นางสาวจรรยารักษ์ ทองสมพรNumber Theory, Classical Analysis
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาววนิดา ลิ่มมั่นRegression Analysis, Mixture Experimental Design
9. รองศาสตราจารย์นายกิตติพงษ์ ไหลภาภรณ์Central Limit Theorem
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวประถมจิต  ขจรเจริญกุลLinear Algebra
11. รองศาสตราจารย์นายกฤษณะเดช เจริญสุธาสินีCoral Sensor Network, Machine Learning,AI, IoT,Smart Agriculture, Drone Mapping, Big Data Analytics
12. รองศาสตราจารย์นายชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุลMagnetic Materials, Composites and Nanostructures
13. รองศาสตราจารย์นายหมุดตอเล็บ หนิสอPlasma and Electromagnetic Waves
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวพรรณศิริ ดำโอPhysics Education
16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวอัปสร บุญยังInorganic Chemistry
17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวกชพรรณ กาญจนะChemical Kinetics
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวจันทิรา  รัตนรัตน์Geographic Information Technology, Remote Sensing

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning OutcomePLO)

PLO1 มีทักษะในการวางแผน วิเคราะห์ ดำเนินงาน และแก้ปัญหางานวิจัยภายใต้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้อย่างดีเลิศ

PLO2 มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO3 มีทักษะในการเขียนบทความทางวิชาการที่เป็นผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ อย่างดีเลิศ

PLO4 มีความสามารถในนำเสนอ อธิบายผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป ให้เข้าใจ อย่างดีเลิศ

PLO5 สามารถสื่อสารทางวิชาการโดยใช้ภาษาอังกฤษและมีทักษะสื่อสารและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรที่เน้นผลิตบุคลากรที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านการคำนวณชั้นสูงและเทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณเป็นอย่างดี

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ 2560 กล่าวคือ

แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก 1

1)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

2) มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือมีประสบการณ์การวิจัยหรือมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเห็นชอบ

3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และตามเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. 2563

แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก 2

1)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

2) มีผลการเรียนระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเห็นชอบ

3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และตามเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. 2563

ในระหว่างการศึกษาในหลักสูตรฯ นักศึกษาอยู่ในทั้งสองแผนการศึกษา สามารถเปลี่ยนแผนการศึกษาไปเป็นอีกแบบหนึ่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้ช่วยวิจัย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนา ในสาขาที่เกี่ยวข้องในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ
  2. พนักงานวิทยาศาสตร์ พนักงานขาย พนักงานที่ปรึกษาในบริษัทเอกชน
  3. ประกอบอาชีพส่วนตัว ตั้งบริษัทวิสาหกิจ

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา(นักศึกษาไทย) 105,000.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา(นักศึกษาต่างชาติ) 142,500.- บาท

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 แบบทำวิจัยอย่างเดียว                       ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต  

แผน ก แบบ ก 2 แบบมีรายวิชาเรียนและทำวิจัย              ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร               36        หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ  
– รายวิชาสัมมนา 2*หน่วยกิต
2) หมวดวิทยานิพนธ์36หน่วยกิต
*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S  
แผน ก แบบ ก 2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร              36      หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ  
– รายวิชาสัมมนา  2หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก12หน่วยกิต
3) หมวดวิทยานิพนธ์22หน่วยกิต