หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์(นานาชาติ)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Science (International Program)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์)

ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Science)

ชื่อย่อ : Ph.D. (Science)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ตำแหน่งทางวิชาการชื่อ-สกุล

ความเชี่ยวชาญ

1. รองศาสตราจารย์นางมัลลิกา เจริญสุธาสินี

Animal Behavior, Dengue Prediction, Coral Reef Ecology,

Terrestrial Ecology, Smart Agricutlure

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวจริยา สากยโรจน์

Marine Mycology, Molecular Fungal Systematics

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวพิชญาภัค  วินทะชัย

Molecular Virology, Antimicrobial Drug Discovery,

Bacteriophage

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายนิยม กำลังดี

Carbon Catabolite Repression in Filamentous Fungi,

Entrepreneurship

5. อาจารย์นางสาวพิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์

Embryonic Stem Cell Differentiation

6. รองศาสตราจารย์

นายเสน่ห์ รุจิวรรณ

Mathematical Finance. Stochastic Modeling,

Parameter Estimation

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวจรรยารักษ์ ทองสมพร

Number Theory, Classical Analysis

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นางสาววนิดา ลิ่มมั่น

Regression Analysis, Mixture Experimental Design

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นายกิตติพงษ์ ไหลภาภรณ์

Central Limit Theorem

10. อาจารย์นางสาวประถมจิต  ขจรเจริญกุล

Linear Algebra

11. รองศาสตราจารย์นายกฤษณะเดช เจริญสุธาสินี

Coral Sensor Network, Machine Learning, AI, IoT,

Smart Agriculture, Drone Mapping, Big Data Analytics

12. รองศาสตราจารย์

นายชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล

Magnetic Materials, Composites and Nanostructures

13. รองศาสตราจารย์นายหมุดตอเล็บ หนิสอ

Plasma and Electromagnetic Waves

14. รองศาสตราจารย์

นายสรศักดิ์ ด่านวรพงศ์

Photoacoustics, Photothermal

15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นางสาวพรรณศิริ ดำโอ

Physics Education

16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นางสาวอัปสร บุญยัง

Inorganic Chemistry

17. อาจารย์นางสาวกชพรรณ กาญจนะ

Chemical Kinetics

18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นายอุดมศักดิ์ ดรุมาศ

Taxonomy and Ecology of Mudskipper, Marine Ecology,

Diving

   

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning OutcomePLO)

PLO1 มีทักษะในการวางแผน วิเคราะห์ ดำเนินงาน และแก้ปัญหางานวิจัยภายใต้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้อย่างดีเลิศ

PLO2 มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO3 มีทักษะในการเขียนบทความทางวิชาการที่เป็นผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการในระดับนานาชาติ อย่างดีเลิศ

PLO4 มีความสามารถในนำเสนอ อธิบายผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป ให้เข้าใจ อย่างดีเลิศ

PLO5 สามารถสื่อสารทางวิชาการโดยใช้ภาษาอังกฤษและมีทักษะสื่อสารและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรที่เน้นผลิตบุคลากรที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านการคำนวณชั้นสูงและเทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี มีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณเป็นอย่างดี

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ 2560 หมวด 3 สำหรับแผนการศึกษาแบบ 1.1   ผู้เข้าศึกษา (สำเร็จปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้อง) ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการรับรองโดย สกอ. อย่างน้อย 1 เรื่อง  และแผนการศึกษาแบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษา (สำเร็จปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง) ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการรับรองโดย สกอ. อย่างน้อย 2 เรื่อง  หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเห็นชอบ

แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก 1

1)นักศึกษาที่กำลังศึกษาในขั้นปริญญาโท แผน ก แบบ ก1 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง สามารถเปลี่ยนระดับการศึกษาเป็นระดับปริญญาเอกได้โดยไม่ต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาโท หากเป็นผู้ที่ได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี รวมทั้งมีผลงานตีพิมพ์ และสอบผ่านการวัดคุณสมบัติที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาขั้นปริญญาเอกได้

2) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และตามเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. 2563

แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก 2

1) นักศึกษาที่กำลังศึกษาในขั้นปริญญาโท แผน ก แบบ ก2 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง สามารถเปลี่ยนระดับการศึกษาเป็นระดับปริญญาเอกได้โดยไม่ต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาโท หากลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ใช้ระดับคะแนนตัวอักษรตามลำดับขั้นในการประเมินผลไปแล้วไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิตและได้คะแนนเฉลี่ยสะสมนับถึงภาคการศึกษาสุดท้าย ไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือมีผลงานวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก และสอบผ่านการวัดคุณสมบัติที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาขั้นปริญญาเอกได้

2) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 และตามเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. 2563

ในระหว่างการศึกษาในหลักสูตรฯ นักศึกษาอยู่ในทั้งสองแผนการศึกษา สามารถเปลี่ยนแผนการศึกษาไปเป็นอีกแบบหนึ่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้ช่วยวิจัย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนา ในสาขาที่เกี่ยวข้องในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ
  2. พนักงานวิทยาศาสตร์ พนักงานขาย พนักงานที่ปรึกษาในบริษัทเอกชน
  3. ประกอบอาชีพส่วนตัว ตั้งบริษัทวิสาหกิจ

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 270,000.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 810,000.- บาท

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร                60      หน่วยกิต

แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร            90      หน่วยกิต

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร               60     หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ  
– รายวิชาสัมมนา6*หน่วยกิต
2) หมวดวิทยานิพนธ์60หน่วยกิต
*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S  
แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร90     หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ  
– รายวิชาสัมมนา  12*หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก0หน่วยกิต
3) หมวดวิทยานิพนธ์90หน่วยกิต