หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์) (ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Science

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย :      ชื่อเต็ม:  วิทยาศาตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์)
                   ชื่อย่อ:   วท.บ. (วิทยาศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ :  ชื่อเต็ม:  Bachelor of Science ( Science)
                   ชื่อย่อ:   B.Sc. (Science)

วิชาเอก

  1. คณิตศาสตร์

เรียนรู้คณิตศาสตร์ทฤษฎีพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์เชิงวิเคราะห์ พีชคณิต เรขาคณิต ความน่าจะเป็นและสถิติ เป็นต้น เพื่ออธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยวิธีการทางคณิตศาสตร์

2. เคมี

ให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทางเคมี ทักษะการทดลอง และการอธิบายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสสารเมื่ออยู่ในสภาวะต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมี การทำนายกลไกของปฏิกิริยา

3. ชีววิทยา

ให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทางชีววิทยาร่วมกับคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาระบบของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลจำนวนมาก

4. ฟิสิกส์

ให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ไปใช้ในการทดลองหรือสร้างแบบจำลองทางฟิสิกส์ เพื่อศึกษา อธิบาย และทำนายการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สร้างพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัสดุแม่เหล็ก คลื่นกล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลาสมา ฟิสิกส์ของการเคลื่อนที่ของวัตถุและของไหล การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และเอกภพวิทยา

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  • สาขาคณิตศาสตร์และสถิติ
    1. รองศาสตราจารย์ ดร.จรรยารักษ์ ทองสมพร
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประถมจิต ขจรเจริญกุล
    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ ไหลภาภรณ์
  • สาขาฟิสิกส์
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณศิริ ดำโอ
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยโรจน์ ใหญ่ประเสริฐ
    3. อาจารย์ ดร.สัมภาส ฉีดเกตุ
  • สาขาเคมี
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง
    2. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรา ไชยรัตน์
    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น
  • สาขาชีววิทยา
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์
    2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์
    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ สายสร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcome, PLO)

PLO1: นักศึกษามีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และมีทักษะดิจิทัลอยู่ในเกณฑ์ดี
PLO2: นักศึกษามีความรู้พื้นฐานครอบคลุมเป็นไปตามเกณฑ์ มคอ.1 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
PLO3: นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนเพื่อแก้ปัญหาในสาขาวิชาเอกที่ตนเองสนใจ คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์
PLO4: นักศึกษาทำงานเป็น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
PLO5: นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพในสายงานนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักนิติวิทยาศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์ หรือ
         สายงานที่เกี่ยวข้อง

ปรัชญาของหลักสูตร

“หลักสูตรที่เน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาด้วยปัญญาและการใช้เทคโนโลยี”

กล่าวคือ บัณฑิตมีความรู้ทางวิชาการและเชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการ สามารถแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์และรู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างองค์ความรู้หรือเพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะด้านได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)

  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการ เข้าใจทฤษฎี หลักการ และมีทักษะในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
  • ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์เพื่อการวิจัย หรือการศึกษาต่อ และการทำงานได้
  • ผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  • ผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณของนักวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ผู้ฟังในทุกระดับได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารจัดการ การสื่อสาร และทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในวัฒนธรรมองค์กรเดียวกันและต่างวัฒนธรรมได้ทุกระดับอย่างดี
  • เพิ่มศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และประเทศไทย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการ เข้าใจทฤษฎี หลักการ และมีทักษะในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
  • ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์และ/หรือคณิตศาสตร์เพื่อการวิจัย หรือการศึกษาต่อ และการทำงานได้
  • ผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้ใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  • ผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณของนักวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ผู้ฟังในทุกระดับได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารจัดการ การสื่อสาร และทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในวัฒนธรรมองค์กรเดียวกันและต่างวัฒนธรรมได้ทุกระดับอย่างดี
  • เพิ่มศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และประเทศไทย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. ครู
  2. นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย
  3. นักวิทยาศาสตร์
  4. นักนิติวิทยาศาสตร์
  5. นักคณิตศาสตร์
  6. นักสถิติ
  7. นักวิเคราะห์ข้อมูลในสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  8. พนักงาน ลูกจ้าง ในสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชน
  9. ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจส่วนตัว

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,700.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 189,600.- บาท

ทุนการศึกษา

  1. ทุน พสวท.
  2. ทุนพัฒนาบัณฑิตสำหรับศตวรรษที่ 21
  3. ทุนสนับสนุนค่าเล่าเรียนคนละครึ่ง
  4. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล (กยศ.) / กองทุนเงินยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) และทุนอื่น ๆ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

185

หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

40

หน่วยกิต

            1) กลุ่มวิชาภาษา

20

หน่วยกิต

                        1.1) วิชาภาษาไทย

4

หน่วยกิต

                        1.2) วิชาภาษาอังกฤษ

16

หน่วยกิต

            2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

8

หน่วยกิต

            3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

หน่วยกิต

            4) กลุ่มวิชาบูรณาการ

4

หน่วยกิต

            5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ

4*

หน่วยกิต

หมายเหตุ          * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร

 

 

 

 

 

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

137

หน่วยกิต

            1) วิชาแกน

67

หน่วยกิต

                        1.1) กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

50

หน่วยกิต

                        1.2) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

17

หน่วยกิต

            2) วิชาเฉพาะด้าน

 

 

                        2.1) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ แยกตามวิชาเอก ดังนี้

 

 

                                    วิชาเอกคณิตศาสตร์

46

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกเคมี

48

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกชีววิทยา

52

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกฟิสิกส์

52

หน่วยกิต

                        2.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก แยกตามวิชาเอก ดังนี้

 

 

                                    วิชาเอกคณิตศาสตร์

24

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกเคมี

22

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกชีววิทยา

18

หน่วยกิต

                                    วิชาเอกฟิสิกส์

18

หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

8

หน่วยกิต

งานประกันคุณภาพการศึกษา

รายงานการประเมินตนเอง

รายงานผลการประเมินตนเอง