หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทางทะเล)(ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Marine Science

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย :      ชื่อเต็ม:  วิทยาศาตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทางทะเล)

                  ชื่อย่อ:   วท.บ. (วิทยาศาสตร์ทางทะเล)

ภาษาอังกฤษ :  ชื่อเต็ม:  Bachelor of Science (Marine Science)

                  ชื่อย่อ:   B.Sc. (Marine Science)

 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทิรา รัตนรัตน์
  3. อาจารย์ภูสิต ห่อเพชร
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจนจิรา แก้วรัตน์
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง จันทา

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทิรา รัตนรัตน์
  3. อาจารย์ภูสิต ห่อเพชร
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจนจิรา แก้วรัตน์
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง จันทา
  6. อาจารย์สุธีระ ทองขาว

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcome, PLO)

PLO1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

PLO2: นักศึกษามีความรู้และทักษะในการทำงานในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ

PLO3: นักศึกษามีความรู้และทักษะด้านการวิจัย

PLO4: นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล

PLO5: นักศึกษาสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น

PLO6: นักศึกษามีจรรยาบรรณและมีจิตสาธารณะในการทำงาน

PLO7: นักศึกษาสามารถนำเสนอและถ่ายทอดความรู้ในเชิงวิชาการทั้งด้วยวาจาทั้งภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ

PLO8: นักศึกษาสามารถเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ

PLO9: นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ และวางแผนเพื่อจัดการปัญหาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญาของหลักสูตร

“ผลิตนักวิชาการทางทะเล มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีดีภาษาอังกฤษ มีจิตสาธารณะ จรรยาบรรณ”

ปรัชญาและทิศทางในการผลิตบัณฑิตและการดำเนินการของหลักสูตร ได้แสดงไว้เบื้องต้น และสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คือเป็นทั้ง “คนดีและคนเก่ง” โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้พื้นฐานและความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างเหมาะสม มีทักษะการสื่อสารที่ดีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยหลักสูตรมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้การเรียนการสอนสามารถสร้างบัณฑิตที่มีองค์ความรู้สามารถจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างยั่งยืน
โดยปลูกฝังให้บัณฑิตมีจิตสาธารณะ และมีจรรยาบรรณ มีความกระตือรือร้นในการเพิ่มพูนความรู้ ความก้าวหน้าในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อการก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นเลิศสู่มาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)

  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง และมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเล
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมทางวิชาการสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจรรยบรรณในวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

 

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง (นิเวศวิทยาทางทะเล การจัดการทรัพยากรประมง สมุทรศาสตร์เคมี ธรณีสัณฐาน) รวมทั้งบัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้จริงโดยผ่านกระบวนการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีจิตสาธารณะ และสามารถทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

แนวทางประกอบอาชีพ

1) นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล/นักชีววิทยา/นักนิเวศวิทยาทางทะเล
2) นักวิชาการประมงปฏิบัติการ/เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติการ
3) นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
4) นักวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
5) นักภูมิสารสนเทศ
6) นักวิทยาศาสตร์ (ห้องปฏิบัติการ)
7) นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย
8) นักวิชาการ ครู อาจารย์
9) นักวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
10) บุคลากรเจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11) นักวิชาชีพอื่นๆ ในสถานประกอบการที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง

แนวทางการศึกษาต่อ

เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,800.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 249,600.- บาท

ทุนการศึกษา

  1. ทุนพัฒนาบัณฑิตสำหรับศตวรรษที่ 21
  2. ทุนสนับสนุนค่าเล่าเรียนคนละครึ่ง
  3. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล (กยศ.) / กองทุนเงินยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 187 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)

 

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

40 หน่วยกิต

 

(1) กลุ่มวิชาภาษา

20 หน่วยกิต

 

(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

8 หน่วยกิต

 

(3) กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8 หน่วยกิต

 

(4) กลุ่มวิชาบูรณาการ

4 หน่วยกิต

 

(5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ

4* หน่วยกิต

 

หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร

 

2. หมวดวิชาเฉพาะ

139 หน่วยกิต

 

(1) กลุ่มวิชาแกน

 

46 หน่วยกิต

 

(2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ

 

64 หน่วยกิต

 

(3) กลุ่มวิชาเอกเลือก

 

12 หน่วยกิต

 

(4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

 

17 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

8 หน่วยกิต

 

งานประกันคุณภาพการศึกษา

รายงานการประเมินตนเอง

รายงานผลการประเมินตนเอง