ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Data Science and Artificial Intelligence
(International Program)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์)

ชื่อย่อ : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Data Science and Artificial Intelligence)

ชื่อย่อ : Ph.D. (Data Science and Artificial Intelligence)

ปรัชญา/วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรนานาชาติ) ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการศึกษาของนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ แบบโมเดลยุโรป (European Model) พ.ศ. 2561 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์อย่างดีเลิศ มีความสามารถการประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในยุค 4.0 อย่างชำนาญ และเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ และเป็นนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติรวมทั้งมีความพร้อมด้านคุณธรรมและจริยธรรมตามปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ 2563 และมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้

แผนการศึกษา แบบ 1.1  

  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนด
  • มีข้อเสนองานวิจัย (research proposal) สำหรับทำวิทยานิพนธ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นชอบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และมีผลงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์และได้รับการเผยแพร่ในวารสารหรืองานประชุมวิชาการที่มี proceeding ระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง

แผนการศึกษา แบบ 1.2 

  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนด
  • มีข้อเสนองานวิจัย (research proposal) สำหรับทำวิทยานิพนธ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นชอบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 50 ในระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า และมีผลงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์และได้รับการเผยแพร่ในวารสารหรืองานประชุมวิชาการที่มี proceeding ระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง

 

แผนการศึกษา แบบ 2.1   

  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนด
  • มีข้อเสนองานวิจัย (research proposal) สำหรับทำวิทยานิพนธ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นชอบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และมีผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารหรืองานประชุมวิชาการที่มี proceeding ไม่ต่ำกว่าระดับชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง

แผนการศึกษา แบบ 2.2   

  • มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนด
  • มีข้อเสนองานวิจัย (research proposal) สำหรับทำวิทยานิพนธ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นชอบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 50 ในระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า

 

แนวทางประกอบอาชีพ

  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาจารย์ นักวิชาการ ผู้ช่วยวิจัย ข้าราชการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน
  • อาชีพอิสระ (Freelance) ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือตั้งบริษัทวิสาหกิจด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์

 

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียม (345,000บาท/คน/ปี –สำหรับนักศึกษาต่างชาติ)

ค่าธรรมเนียม (270,000 บาท/คน/ปี –สำหรับนักศึกษาคนไทย)

 

โครงสร้างหลักสูตร

  • หลักสูตร
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

3.1.1.1 ทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว               

        แบบ 1.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท)           ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ระบบทวิภาค

        แบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี)           ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต ระบบทวิภาค

                  3.1.1.2 มีรายวิชาเรียนและทำวิทยานิพนธ์ 

        แบบ 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท)           ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ระบบทวิภาค

        แบบ 2.2 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี)           ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต ระบบทวิภาค

3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

48

หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับ                                     

 

 

– รายวิชาสัมมนา                                   

6*

หน่วยกิต

(*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S)

 

 

2) หมวดวิทยานิพนธ์                                  

48

หน่วยกิต

แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

72

หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับ                                     

 

 

– รายวิชาสัมมนา                                   

12*

หน่วยกิต

(*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S)

 

 

2) หมวดวิทยานิพนธ์                                  

72

หน่วยกิต

 

แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร              

48

หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับ                                     

 

 

– รายวิชาสัมมนา                                   

6

หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเลือก                                       

6

หน่วยกิต

3) หมวดวิทยานิพนธ์                                 

36

หน่วยกิต

 

 

 

แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร              

72

หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับ                                     

 

 

– รายวิชาสัมมนา                                   

12

หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเลือก                                       

12

หน่วยกิต

3) หมวดวิทยานิพนธ์                                  

48

หน่วยกิต