หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย: หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ: Bachelor of Education Program

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย :      ชื่อเต็ม: ครุศาสตรบัณฑิต

                  ชื่อย่อ:  ค.บ.

ภาษาอังกฤษ :  ชื่อเต็ม: Bachelor of Education

                  ชื่อย่อ:  B.Ed

วิชาเอก (นักศึกษาต้องเลือก 1 วิชาเอกดังต่อไปนี้)

วิชาเอกเดี่ยว

  1. วิชาเอกคณิตศาสตร์ Field of study in Mathematics
  2. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา Field of study in Computer Education
  3. วิชาเอกชีววิทยา Field of study in Biology

วิชาเอกเดี่ยวและวิชาเอก–โท

  1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป Field of study in General Sciences

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

     1 วิชาเอกเดี่ยว       รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 174 หน่วยกิตระบบไตรภาค

     2 วิชาเอก-โท         รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 187 หน่วยกิตระบบไตรภาค

 

รูปแบบของหลักสูตร

1. รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

2. ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

3. ภาษาที่ใช้ 

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษบางรายวิชา

4. ระบบการเรียนการสอน

หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีบรรยาย การฝึกปฏิบัติ มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อย
(กลุ่มละ 10 – 15 คน) มีการวัดผลในทุกสัปดาห์ตลอดทั้งภาคการศึกษา ทั้งนี้ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีการกำหนดโจทย์สำหรับทำแบบฝึกหัดให้กับนักศึกษาทุกหัวข้อ (Formative Assessment) และตรวจประเมินผลงานของนักศึกษา พร้อมทั้งให้ความเห็น จุดแข็งและจุดอ่อนแก่นักศึกษาอย่างชัดเจน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้อย่างลึกซึ้งในรายวิชานั้น ๆ หรือการใช้วิธีการสอนรูปแบบอื่นที่ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทั้งการอ่าน การเขียน การนำเสนอ การคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์ เป็นต้น

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  • วิชาเอกคณิตศาสตร์ (เอกเดี่ยว)
  1. รศ.ดร.บัณฑิตย์ อันยงค์
  2. ผศ.ถนอม เลขาพันธ์
  3. ผศ.ดร.สุดธิดา สังข์พุ่ม
  4. ผศ.ดร.นพพร ธรรมรงค์รัตน์
  5. ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ ประถม
  • วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา (เอกเดี่ยว)
  1. ผศ.ดร.อุทัย คูหาพงศ์
  2. อาจารย์พรทิพย์ เกิดถาวร
  3. ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์
  4. รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี
  • วิชาเอกชีววิทยา (เอกเดี่ยว)
  1. อาจารย์พัชรา พยัคฆา
  2. อาจารย์อรรถพร บัวชื่น
  3. อาจารย์พาอีหม๊ะ เจะสา
  4. ผศ.ดร.ภูวดล บางรักษ์
  • วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป (เอก – โท)
  1. รศ.ดร.ปานจิต มุสิก
  2. อาจารย์ ดร.ธรรมรง เอียดคง
  3. ว่าที่ร้อยตรีหญิงจิราพัชร น้ำแก้ว
  4. รศ.ดร.พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย
  5. ผศ.ดร.วรพงศ์ ภู่พงศ์
  6. อาจารย์ ดร.ปิลันธน์ แสนสุข

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcome, PLO)

 

1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังจำนวนทั้งสิ้น 35 ข้อ จำแนกเป็น 6 ด้านตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ได้แก่ (1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 6 ข้อ (2) ด้านความรู้ จำนวน 5 ข้อ (3) ด้านทักษะทางปัญญา จำนวน 5 ข้อ (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ จำนวน 4 ข้อ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี จำนวน 8 ข้อ และ (6) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ข้อ

 

1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม

PLO 1.1

แสดงออกถึงความมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา และสำนึกสาธารณะ

PLO 1.2

ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นพลเมืองทั้งของตนเองและผู้อื่น

PLO 1.3

แสดงออกถึงความรัก ศรัทธา ความภูมิใจ จิตวิญญาณ และอุดมการณ์ความเป็นครู และปฏิบัติ ตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู

PLO 1.4

ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู

PLO 1.5

สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

PLO 1.6

สามารถวินิจฉัย จัดการ และคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

2. ด้านความรู้

PLO 2.1

สามารถอธิบายหลักการสื่อสารด้วยภาษา พื้นฐานทางสังคมและความเป็นพลเมือง แนวคิดเชิงปรัชญาและการคิดเชิงวิพากษ์ การเล่นกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และการประกอบธุรกิจเบื้องต้นได้

PLO 2.2

สามารถอธิบายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการแสวงหาความรู้ และการวิจัยขั้นพื้นฐานได้

PLO 2.3

สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู และแนวคิดการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์

PLO 2.4

สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และเนื้อหาตามสาขาวิชาเอกที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบและนอกระบบ

PLO 2.5

ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและ นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางานและพัฒนาชุมชน

3. ด้านทักษะทางปัญญา

PLO 3.1

สามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐานได้

PLO 3.2

สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบแบบองค์รวม มีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

PLO 3.3

สามารถวิเคราะห์ความรู้และเนื้อหาตามสาขาวิชาเอกที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระบบและนอกระบบ

PLO 3.4

สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางานและพัฒนาผู้เรียน

PLO 3.5

สามารถคิดริเริ่ม พัฒนางาน สร้าง และประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัย และสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ แก่ชุมชนและสังคม

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

PLO 4.1

สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผนและรับผิดชอบในการทำงาน การแสวงหาความรู้ การพัฒนาตนเอง และกระบวนการบริหารจัดการ ได้อย่างต่อเนื่อง

PLO 4.2

สามารถปรับตัวในทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอาศัยความเข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคม แนวคิดด้านปรัชญา และลักษณะทางพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ

PLO 4.3

สามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของแต่ละสาขาวิชา

PLO 4.4

สามารถชี้นำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี

PLO 5.1

สามารถสื่อสารภาษาไทยในการประกอบอาชีพได้

PLO 5.2

สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สามในสถานการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้

PLO 5.3

สามารถเลือกใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์หรือสถิติที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันได้

PLO 5.4

สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล และการนำเสนอ ได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

PLO 5.5

สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ สังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

PLO 5.6

สามารถสื่อสารกับผู้เรียนพ่อแม่ผู้ปกครองบุคคลในชุมชนและสังคมและผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารทางวาจา การเขียน หรือการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม

PLO 5.7

สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ดุลยพินิจที่ดี ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ อีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนผลงาน

Plo 5.8

สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และเทคโนโลยีโลกอนาคตในการปฏิบัติงาน วินิจฉัยแก้ปัญหา และพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ หลักการทางทฤษฎี ประสบการณ์ ภาคปฏิบัติ ค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

6. ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้

PLO 6.1

สามารถเลือกใช้ปรัชญาตามความเชื่อในการสร้างหลักสูตรรายวิชา การออกแบบ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหาร จัดการชั้นเรียน การจัดการเรียนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิด ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทที่ต่างกันของผู้เรียนและพื้นที่

PLO 6.2

สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบกิจกรรม การจัดเนื้อหาสาระ การบริหารจัดการ และกลไกการช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนา ผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่าง บุคคล ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดทางกาย โดยนำความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้

PLO 6.3

สามารถออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น โดยบูรณาการทำงานกับการเรียนรู้และคุณธรรมจริยธรรม

PLO 6.4

สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ด้วยความความซี่อสัตย์ สุจริต มีวินัยและรับผิดชอบต่อผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด

PlO 6.5

สามารถสร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้

PLO 6.6

สามารถประสานงานและสร้างความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออานวยความสะดวกและร่วมมือ กันพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ

PLO 6.7

สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ [ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการรู้เรื่อง ทักษะการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทักษะเทคโนโลยี และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง] เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตนเอง

 

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตและบ่มเพาะบัณฑิตให้เป็นครูในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถสร้างและบูรณาการความรู้จากศาสตร์ที่หลากหลายสู่การจัดการเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้และทันสมัย สามารถคิดวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาชีพ มีความลุ่มลึกในศาสตร์และศิลป์แห่งวิชาชีพครู สามารถใช้และรู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย แสวงหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางการศึกษาและพัฒนาประสบการณ์ในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นครู ตลอดจนมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อชุมชนและสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)

1) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นครูที่รอบรู้และรู้ลึกในหลักการ ทฤษฎี และเนื้อหาสาระวิชาที่สอน รวมถึงสามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้กับศาสตร์การสอนสู่การจัดการเรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้ สร้างสรรค์ และทันสมัย

2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความลุ่มลึกในศาสตร์และศิลป์แห่งวิชาชีพครู การจัดการเรียนรู้ พัฒนาการเรียนและแก้ปัญหาของผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และประยุกต์องค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และยกระดับการแข่งขันของประเทศ

3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อนำมาพัฒนาวิชาชีพครู และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบทั้งในการประกอบวิชาชีพครูและในการดำรงชีวิต

4) เพื่อผลิตบัณฑิตที่ยึดมั่นและปฎิบัติตามจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นครู มีภาวะความเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจิตสำนึกสาธารณะ มีความรับผิดชอบ และสามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นได้

5) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นสากลและสำนึกในความเป็นไทย รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง แสวงความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอยู่เสมอ

แนวทางประกอบอาชีพ

  1. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    1. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2. นักวิชาการด้านการศึกษาคณิตศาสตร์
  2. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
    1. ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา
      ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2. นักคอมพิวเตอร์ศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา
  3. วิชาเอกชีววิทยา
    1.  ครูผู้สอนวิชาชีววิทยาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2. นักวิชาการด้านชีววิทยา

 

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบไตรภาค ภาคการศึกษาละ 19,400 บาท

ทุนการศึกษา

  1. ทุนครุศาสตร์เพชรวลัย

  2. ทุนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล (กยศ.) / กองทุนเงินยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร (เอกเดี่ยว)

รายละเอียดวิชา

หน่วยกิต

(ไตรภาค)

หน่วยกิต

(ทวิภาค)

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

40

32

2. หมวดวิชาเฉพาะ

126

100.8

2.1 กลุ่มวิชาชีพครู

(51)

(40.8)

2.1.1 วิชาชีพครู: ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

(36)

(28.8)

2.1.2 วิชาชีพครู: ฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน

(9)

(7.2)

2.1.3 วิชาชีพครู: ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

(6)

(4.8)

2.2 กลุ่มวิชาเอก

(75)

(60)

2.2.1 วิชาเอกบังคับ

(50)

(40)

2.2.2 วิชาเสริมสร้างสมรรถนะวิชาเอก
(ไม่น้อยกว่า 25 หน่วยกิต)

(25)

(20)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

8

6.4

รวมไม่น้อยกว่า

174

139.2


โครงสร้างหลักสูตร (เอก-โท)

รายละเอียดวิชา

หน่วยกิต

(ไตรภาค)

หน่วยกิต

(ทวิภาค)

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

40

32

2. หมวดวิชาเฉพาะ

139

111.2

2.1 กลุ่มวิชาชีพครู

(51)

(40.8)

2.1.1 วิชาชีพครู: ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

(36)

(28.8)

2.1.2 วิชาชีพครู: ฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน

(9)

(7.2)

2.1.3 วิชาชีพครู: ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

(6)

(4.8)

2.2 กลุ่มวิชาเอก

(88)

(70.4)

2.2.1 วิชาเอกบังคับ

(50)

(40)

2.2.2 วิชาโท (ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต)

(38)

(30.4)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

8

6.4

รวมไม่น้อยกว่า

187

149.6